head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: โรคปอดอักเสบและไอพีดี ภัยร้ายจากเชื้อนิวโมคอคคัส  (อ่าน 58 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 661
    • ดูรายละเอียด
โรคปอดอักเสบและไอพีดี ภัยร้ายจากเชื้อนิวโมคอคคัส

เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) เป็นเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดปอดอักเสบจากชุมชนมากที่สุด อุบัติการณ์ในประเทศไทยพบได้ประมาณ 8-11 % สามารถพบปอดติดเชื้อร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือดได้ 58-81% ซึ่งมีอัตราตายสูงถึง 25% ความรุนแรงและ อัตราตายจะสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น

เชื้อนี้พบได้ ในโพรงจมูกและลำคอของมนุษย์ สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยผ่านระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม และสัมผัสละอองเสมหะของผู้ป่วย หรือ พาหะ การเกิดโรคขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และปัจจัยของผู้ป่วยพบว่าเชื้อนี้ดื้อยามากขึ้น ทำให้การรักษาซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง และเป็นอันตรายต่อชีวิตมากขึ้นปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่พบเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคประมาณ 20-30 สายพันธุ์


อาการเมื่อมีการติดเชื้อนิวโมคอคคัส

    ไข้ ไอเสมหะ เหนื่อย หายใจเจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการของปอดอักเสบ ถ้ามีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วม อาจทำให้มีการติดเชื้อที่อวัยวะอื่น เช่น ข้ออักเสบติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้หลังติดเชื้อปอดอักเสบ ช่วงภาวะออกซิเจนต่ำหรือการอักเสบในร่างกาย
    ในผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่ม เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคเส้นลือดสมองตีบ โดย 30% ในจำนวนนี้ไม่จำเป็นต้องมีโรคเหล่านี้มาก่อน


ใครที่มีปัจจัย ‘เสี่ยงสูง’ ต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส?

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลให้ ตับ ทำงานหนักมากขึ้นเป็นพิเศษในการกำจัดของเสีย หลังปาร์ตี้มาพักตับ ดูแลฟื้นฟู เริ่มต้นง่าย ๆ เพียง

    ผู้สูงอายุและเด็กเล็ก เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สมบูรณ์เท่ากับคนในวัยหนุ่มสาว
    ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคเบาหวาน เป็นต้น
    ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่ติดเชื้อโรคมะเร็ง ผู้ที่ต้องฟอกไตเป็นประจำ ผู้ป่วยที่ไม่มีม้าม รวมถึงผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
    ผู้สูบบุหรี่


วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากเชื้อนิวโมคอคคัส

    รักษาสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่จามหรือไอ
    หลีกเลี่ยงการสัมผัส คลุกคลีกับผู้ป่วย และการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
    ปรึกษาแพทย์เรื่องการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน


วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

PCV 13 (Pneumococcal conjugated vaccine) ครอบคลุมสายพันธุ์ ได้ 13 serotypes เหมาะสำหรับการฉีดในเด็กเล็ก หรือในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อชนิดลุกลามได้ 75% และการติดเชื้อไม่ลุกลาม 45% สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กำหนดข้อบ่งชี้การให้ pneumococcal vaccine ในปี พ.ศ. 2561 ดังนี้

    อายุ > 65 ปี
    อายุ 2-65 ปี ที่มีความเสี่ยง เช่น

    มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ดี โรคหัวใจวาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
    สูบบุหรี่ประจำ
    ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นได้ยา steroid ยากดภูมิ โรคมะเร็ง
    ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือไขกระดูก
    ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานบกพร่อง เช่น กลุ่มธาลัสซีเมีย

เนื่องจากการศึกษาในประเทศไทย ระหว่าง 2555-2560 อัตราการครอบคลุมโดยวัคซีน PCV 13 อยู่ที่ ร้อยละ 60.2% ในกรณีที่ต้องการเพิ่มความครอบคลุมสายพันธุ์ในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นสามารถใช้ PSSV 23 ฉีดหลัง PCV13 เป็นเวลา 1 ปี อนาคตถ้ามี PCV ครอบคลุมสายพันธุ์มากขึ้นอาจพิจารณาฉีด เข็มเดียวได้ เช่น PCV 20 ใน สหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มี


แม้การติดเชื้อนิวโมคอคคัส จะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายนั้นส่งผลให้เชื้อนิวโมคอคคัสมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากและซับซ้อนขึ้น ดังนั้นการป้องกันก่อนการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ