head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไต ภัยเงียบใกล้ตัว ป้องกันได้ แค่สังเกต 6 สัญญาณเตือนนี้!  (อ่าน 95 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 661
    • ดูรายละเอียด
“กินเค็มระวัง โรคไต ถามหา” วลีนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป เพราะจากตัวเลขที่คนไทยป่วยไตเรื้อรัง ล่าสุดสูงถึง 11.6 ล้านคน และยังมีจำนวนมากกว่า 1 แสนคน ที่ต้องล้างไต แต่ที่สำคัญ แม้ในคนที่ไม่กินเค็ม ก็สามารถป่วยเป็นโรคไตได้ แถมเจ็บป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังขึ้นมาก็ลำบาก เพราะต้องรักษาต่อเนื่องแทบจะตลอดชีวิต ค่ารักษาจึงสูงตามกันมา แต่ถ้าอยากเพิ่มความมั่นใจ การมีประกันโรคร้ายไว้ก่อน ก็ทำให้อุ่นใจเรื่องค่ารักษาในยามเจ็บป่วยได้  แต่ก่อนอื่นไม่ควรปล่อยให้ตัวเองมีอาการ แล้วค่อยมาดูแลสุขภาพทีหลัง มาดูกันว่า สาเหตุโรคไต เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือไม่ แล้วสัญาณเตือน โรคไต แบบไหนที่ควรระวัง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเลี่ยงโรคไตได้


    โรคไต สาเหตุเกิดจากอะไร
    6 สัญญาณเตือน โรคไต
    โรคไต รักษาหายไหม
    อาหารต้องห้ามของคนป่วยโรคไต
    วิธีป้องกันโรคไต


โรคไต สาเหตุเกิดจากอะไร รู้ก่อนลดเสี่ยง

สาเหตุการเกิดโรคไต หรือปัจจัยเสี่ยง จากที่หลายคนรู้กันก็คงจะเป็นจากพฤติกรรมการกินอาหารจำพวก รสจัด รสเค็ม หรือการกินยาเยอะ ๆ แต่เพื่อความชัวร์ว่าทุกคนเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ตามมาดูกันว่า โรคไต มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง


    โรคประจำตัวที่มีผลกระทบทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ นิ่วในไต ไตอักเสบ โรคต่าง ๆ จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง
    จากกรรมพันธุ์ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไต
    การใช้ยาผิดประเภท ใช้ยาเกินขนาด เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDS จะทำให้การทำงานของไตลดลง
    มีประวัติการเป็นโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต
    การกินอาหารรสจัด เค็มจัด หวานจัด หรือเผ็ดจัด
    อายุมากกว่า 60 ปี เพราะอายุที่มากขึ้นการทำงานของไตก็ลดลง
    ดื่มน้ำน้อยเกินไป
    ไม่ออกกำลังกาย
    มีความเครียด



6 สัญญาณเตือน โรคไต อาการนี้ต้องระวัง

การรู้ทันสัญญาณเตือนโรคไตตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ลดความเสี่ยง และทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็วขึ้น แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าอาการนี้ โรคไตกำลังมาเยือน มาเช็กลิสต์กับ 6 สัญญาณเตือน โรคไตกัน


    ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีขุ่นกว่าปกติ
    ปัสสาวะเป็นฟองจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ
    ปัสสาวะแสบขัด หรือปัสสาวะลำบาก และปัสสาวะในช่วงกลางคืนบ่อยกว่าปกติ
    มีอาการบวมหลังตื่นนอน ทั้งใบหน้ารอบดวงตา ส่วนขากับเท้ามักจะบวมเวลายืนนาน ๆ
    ปวดหลัง บริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง และอาจปวดร้าวไปที่ท้องน้อย ต้นขาหรืออวัยวะเพศด้วย
    บางรายน้ำหนักลด แต่บางรายอาจตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้


โรคไต เป็นแล้วรักษาหายไหม

สำหรับใครที่ขาข้างหนึ่งก้าวเข้าไปเสี่ยงกับโรคไต แล้วกังวลว่าหากป่วยแล้ว โรคนี้จะรักษาหายหรือไม่ เพราะป่วยโรคไตค่ารักษาต่อเนื่องแทบจะตลอดชีวิตกันเลยทีเดียว สำหรับคนที่ป่วยโรคไต หากเป็นไตวายเฉียบพลันอาจรักษาให้หายขาด และสามารถฟื้นฟูการทำงานของไต ให้กลับมาหายเป็นปกติได้ แต่ต้องรู้ตัวเร็วและมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาไม่ควรช้าเกิน 3 เดือน หากปล่อยไว้นานไป อาจป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังได้

เมื่อป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะเนื้อเยื่อไตได้เสียหายไปแล้ว ทำให้เกิดพังผืดในไต การรักษาจึงทำได้เพียงแค่ช่วยชะลอความเสื่อมของไต เพื่อให้เข้าสู่ระยะการฟอกไต หรือ ปลูกถ่ายไต ให้ช้าที่สุด


โรคไต ห้ามกินอะไร

โรคไตกับอาหารแทบจะเรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน ซึ่งจะมีทั้งกินอะไรได้ และ กินอะไรไม่ได้ ซึ่งอาหารที่คนป่วยโรคไตสามารถกินได้ คือ ไข่ขาว ปลา เนื้อหมู ไก่ (ที่ไม่ติดมัน) น้ำเต้าหู้ที่ทำสด ๆ น้ำนมข้าวที่ไม่ปรุงแต่ง ข้าวขาว เส้นหมี่ เส้นเล็ก วุ้นเส้น ผักสีอ่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ฟัก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะระ ผักบุ้ง น้ำขิง ชาไม่ใส่นม ฯลฯ

ส่วนอาหารที่คนป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยง คืออาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ไข่แดง เนื้อสัตว์ติดมัน ถั่วต่าง ๆ รวมถึงธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ข้าวกล้อง บะหมี่ ขนมปังโฮลวีต ผักสีเข้ม เช่น คะน้า บล็อกโคลี่ แครอท ผักโขม กะเพรา ขนม เบเกอรี่ต่าง ๆ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ขนมที่ทำจากไข่แดง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ


รู้จักวิธีป้องกัน “โรคไต”

แม้โรคไต จะขึ้นชื่อว่าเป็นแล้วแทบไม่มีโอกาสหาย นอกจากจะรักษาแบบชะลอไม่ให้ไตเสื่อมเร็วแล้ว ยังต้องรักษาต่อเนื่อง แต่โรคไต ก็มีวิธีป้องกันก่อนป่วยได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า โรคไตมีปัจจัยเสี่ยงอยู่รอบตัว แต่หากเริ่มดูแลป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยให้ห่างไกลแบบไตไม่สะเทือนได้ เช่น


-    เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก และ ผลไม้สด อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ถั่ว ปลาที่มีไขมันสูง จำกัดกากินเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป รวมถึงพวกธัญพืชเต็มเมล็ด แทนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีแล้ว
-    ดื่มน้ำให้มากขึ้น วันละ 6-8 แก้วต่อวัน ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ราบรื่น กรองสารพิษออกจากเลือด และ ขับสารพิษทางปัสสาวะ และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
-    ไม่สูบบุหรี่ เพราะคนสูบบุหรี่ มีแนวโน้มที่จะเป็นภาวะไตวายมากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่
-    หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดต้านการอักเสบ โดยเฉพาะยาแก้ปวดต้านการอักเสบที่ต้องกินหลังอาหารทันที มักมีพิษต่อไต และการกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะเร่งให้การทำงานของไตเสื่อมลง
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกาย จะช่วยให้กระบวนการเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการกำจัดของเสียที่สะสมในเลือด และช่วยควบคุมความดันโลหิตได้อีกด้วย


เพราะโรคไตเป็นเรื่องใกล้ตัว เมื่อทุกคนรู้ถึงสาเหตุการเกิดโรคไตแล้ว การดูแลสุขภาพจึงง่ายมากขึ้น และอย่าลืมสังเกตสัญญาณเตือนโรคไต ก่อนจะมีอาการ เพราะหากละเลยแล้วเกิดเจ็บป่วยมา ก็สะเทือนไปทั้งครอบครัว ไหนจะค่ารักษา ไหนจะการดูแลตัวเองทั้งก่อนฟอกไต และหลังฟอกไต เราจึงควรดูแลสุขภาพ และควรมีประกันสุขภาพก่อนเจ็บป่วย เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจ เจ็บป่วยมาก็ไม่กังวลเรื่องค่ารักษา



โรคไต ภัยเงียบใกล้ตัว ป้องกันได้ แค่สังเกต 6 สัญญาณเตือนนี้! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298