head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีเช็กน้ำยาแอร์หมด พร้อมวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเองง่ายๆ  (อ่าน 79 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 815
    • ดูรายละเอียด
ซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีเช็กน้ำยาแอร์หมด พร้อมวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเองง่ายๆ

ถ้าต้องเผชิญกับอากาศอันร้อนระอุจากภายนอกมาหมาด ๆ พอกลับเข้าบ้านหวังใจว่าจะเปิดแอร์ให้เย็นชื่นใจ คลายความร้อนออกไป แต่กลับกลายเป็นว่าเปิดแอร์ไปสักพักแล้วแอร์ไม่มีความเย็นเลย มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการรั่วของระบบน้ำยาแอร์ทำให้น้ำยาแอร์หมดอาการจึงส่อเค้าออกมาเช่นนี้ ถ้าจะตรวจเช็กว่าแอร์ของเรามีปัญหาเรื่องนี้จริงหรือไม่ ควรตรวจสอบหรือสังเกตอาการอย่างไร มาดูกันเลย


3 อาการน้ำยาแอร์หมด

โดยปกติแล้ว น้ำยาแอร์จะไม่หมด ไปจากระบบ สามารถใช้งานได้เกิน 10ปี ถ้ามิได้มีการรั่วซึม แต่เมื่อแอร์ใช้ไประยะเวลานาน ก็เป็นไปได้ว่า อาจมีการรั่วซึมออกตามข้อต่อต่างๆบ้าง เป็นเรื่องปกติ

วันนี้จะเอาวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นว่าแอร์ของคุณปัญหาเรื่องน้ำยาแอร์ขาดหรือหมดนั้น ก็ให้สังเกตง่าย ๆ จากประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ ถ้าน้ำยาแอร์หมดอาการผิดปกติของแอร์จะแสดงได้ 3 รูปแบบ คือ


1. แอร์ไม่เย็นอาจจะเป็นเพราะน้ำยาแอร์หมด

ถ้าเปิดแอร์ไปสักพักใหญ่ ๆ แล้วแอร์เย็นน้อยหรือไม่มีความเย็นเลย ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นไปได้ที่น้ำยาแอร์อาจรั่ว ทำให้น้ำยาแอร์ขาดพร่องไปจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้


2. แอร์ทำงานปกติแต่แอร์เย็นน้อยเพราะน้ำยาแอร์หมด

ถ้าเปิดแอร์แล้วทุกอย่างทำงานปกติ ทั้งระบบภายนอกและภายในทุกอย่างทำงานได้เหมือนเดิม แต่เร่งแอร์แล้วก็ยังเย็นน้อยก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ในกรณีนี้ได้เช่นกัน


3. แอร์มีแต่ลมเพราะน้ำยาแอร์หมด

ถ้าเปิดแอร์แล้ว แอร์ส่งแต่ลมออกมาไม่มีไอเย็นออกมาด้วย หรืออาจจะมีบ้างแต่มาเพียงครู่เดียว แบบนี้ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่บ่งบอกถึงปัญหานี้ได้ (แต่ให้ตรวจสอบที่รีโมทให้ดีก่อน ว่าเปิดโหมด พัดลมอย่างเดียวอยู่หรือเปล่า ถ้าเปิดโหมดพัดลม ให้เปลี่ยนเป็นโหมด cool โดยมักจะเป็นรูป หิมะ)

อาการเหล่านี้แต่ละบ้านอาจจะเกิดแตกต่างกันไป แต่จะพบปัญหาแบบใดแบบหนึ่งใน 3 แบบ ถ้าพบปัญหาในลักษณะนี้ก็สันนิษฐานได้ว่าแอร์ของคุณมีปัญหาน้ำยาแอร์ขาดหรือหมดนั่นเอง


วิธีเช็กน้ำยาแอร์หมดด้วยตัวเอง

ที่กล่าวมาเป็นวิธีสังเกตว่าน้ำยาแอร์หมดอาการเบื้องต้นจะเป็นอย่างไร ซึ่งอาการเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย ไม่ได้ชี้ชัดเสมอว่าจะเกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องน้ำยาแอร์ขาดหรือหมด ทีนี้ถ้าต้องการเช็กให้ชัวร์ว่าแอร์ของเรามีปัญหาน้ำยาแอร์หมดจริงหรือไม่ก็สามารถทำได้ดังนี้


1. เช็กความเย็น

ให้คุณเปิดแอร์โดยตั้งระดับความเย็นไว้ในระดับปกติ รอสักพักจนคอมเพรสเซอร์ตัวที่อยู่ด้านนอกเริ่มทำงาน หลังจากที่ระบบเริ่มทำงานแล้วให้คุณนำมือไปไว้ตรงบริเวณที่ปล่อยลมคอยล์ร้อนของแอร์ หากว่าน้ำยาแอร์อยู่ในระดับปกติไม่ได้ขาดหรือหมด ลมที่เป่าออกมาในบริเวณนั้นจะอุ่นหรือค่อนข้างร้อน แต่ถ้าจุดนั้นปล่อยลมแบบธรรมดาไม่ใช่ลมอุ่นหรือลมร้อน แสดงว่าน้ำยาแอร์ของคุณอาจไม่เหลือแล้ว


2. เช็กการเป็นน้ำแข็ง

ให้คุณเปิดแอร์ไปสักพักใหญ่ ๆ แล้วสังเกตดูบริเวณท่อน้ำยาแอร์ที่ต่อออกมาจากบริเวณคอยล์ร้อนของเครื่อง ถ้าบริเวณท่อน้ำยามีน้ำแข็งเกาะ ก็แสดงว่าน้ำยาแอร์ขาดไปเยอะแล้วนั่นเอง อาการน้ำยาน้อยเกินไปอาจจะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้


น้ำยาแอร์หมด ยังเปิดแอร์ได้ปกติไหม

ประเด็นต่อมาที่หลายคนอยากรู้กันมากก็คือ น้ำยาแอร์หมดเปิดแอร์ได้ไหม จริง ๆ แล้วถ้ากรณีที่ห้องนั้น ๆ ไม่มีพัดลมหรือระบบระบายความร้อนอื่น ๆ ก็อาจจะพอเปิดให้มีลมได้ แต่ไม่ควรเปิดไว้นาน ๆ ที่แนะนำก็คือ ถ้าแอร์มีปัญหาในลักษณะนี้ ควรเลี่ยงการเปิดใช้งานแอร์ไปเลยจะดีกว่า และควรจะเรียกช่างแอร์มาช่วยตรวจสอบอาการรั่วของน้ำยาแอร์ เพราะน้ำยาแอร์จะขาดหรือหมดได้ก็จะมาจากน้ำยาแอร์รั่ว ก็ควรให้ช่างมาซ่อมแซมจุดรั่วซึมแล้วค่อยเติมน้ำยาแอร์ให้เรียบร้อย แอร์จะได้กลับมาใช้งานให้ความเย็นได้ตามปกติ เพราะหากฝืนเปิดแอร์ทั้ง ๆ ที่ระดับน้ำยาแอร์หมดอาการและผลเสียที่จะตามมาก็คือ

1.    แอร์จะเสื่อมสภาพเร็ว การฝืนเปิดใช้งานต่อไปจะยิ่งทำให้แอร์เสื่อมสภาพและเกิดความเสียหายเร็วขึ้น เนื่องจากว่าน้ำยาแอร์รั่วจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ของเครื่อง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้ไขแล้วยังฝืนใช้งานต่อ ระบบอื่น ๆ ก็จะเสียหายไปด้วย ทำให้แอร์เสียง่ายและอาจอันตรายต่อการใช้งานด้วย

2.    สิ้นเปลืองค่าไฟ แม้ว่าการเปิดแอร์ในขณะที่น้ำยาแอร์เหลือน้อยนั้นจะกินไฟไม่ต่างกับตอนที่ระดับน้ำยาแอร์อยู่ในระดับปกติมากมายนัก แต่ถ้าเปิดแอร์แล้วไม่เย็นคุณก็จะต้องพยายามเร่งเครื่องให้ในส่วนพัดลมภายในทำงานมากขึ้น นั่นก็จะทำให้เปลืองไฟได้ และถ้าเทียบกับการเปิดพัดลมทั่วไป การเปิดแอร์แบบนี้ได้ความเย็นเท่า ๆ กับการเปิดพัดลมทั่วไปแต่กลับกินไฟมากกว่าพัดลมหลายเท่า แบบนี้จึงไม่ควรฝืนเปิดต่อไป