head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: การลดความเสี่ยง จากการให้อาหารสายยาง  (อ่าน 66 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 818
    • ดูรายละเอียด
การลดความเสี่ยง จากการให้อาหารสายยาง
« เมื่อ: วันที่ 29 กรกฎาคม 2024, 14:48:59 น. »
การลดความเสี่ยง จากการให้อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสาย อาหารสุขภาพ ถือเป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการรักษาที่มักพบเห็นได้บ่อย ข้อดีของการให้อาหารทางสายยางคือ การทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายที่สมดุล ไม่เกิดปัญหาแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับประทานอาหาร การให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องดูแลรักษาความสะอาดและที่สำคัญจะต้องทราบถึงวิธีการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมากที่สุด


อย่างไรก็ตาม การให้อาหารทางสายยาง ถึงแม้ว่าเป็นการรักษาอย่างหนึ่งทางการแพทย์ และส่งผลดีต่อร่างกายของผุ้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในการให้อาหารอยู่ดี ไม่ว่าเป็นการใส่สายยางให้อาหาร ก็มีความเสี่ยง อาจจะทำให้เกิดบาดแผลภายในร่างกาย ที่มีการสอดสายยางผ่านเข้าไป หรืออันตรายจากการใส่สายยางให้อาหารผิดตำแหน่ง แล้วทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการให้อาหารทางสายยาง มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายได้ตั้งแต่การใส่สายยางให้อาหารและถอดสายยาง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย หากทำไม่ถูกวิธี ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาวะปอดอักเสบ หลอดอาหารทะลุ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง หรือการบาดเจ็บของหลอดลม

สำหรับความเสี่ยงจากการให้อาหารทางสายยางให้อาหาร ถ้าสายยางเข้าไปในปอด อาจจะทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหารเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ทางเดินหายใจอุดกั้น ปอดอักเสบจากการสำลักหรือเกิดการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะช็อคหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการสำลักอาหาร คือสายยางให้อาหารไม่อยู่ในตำแหน่งที่กำหนดนั่นเอง

นอกจากนี้ การที่สายยางให้อาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการระคายเคืองและอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไออย่างรุนแรง ก็ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายได้ รวมไปถึงลักษณะของการสายให้อาหารก็ถือว่าอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสายยางเกิดการหักพับในคอ หรือหลอดอาหาร สายยางทำให้เยื่อบุทำงานเดินหายใจได้รับบาดเจ็บเกิดการติดเชื้อและอาจทำให้เกิดไซนัสอักเสบ และถ้าหากสายยางเข้าไปในสมอง ทะลุเข้าไปในฐานของกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดภาวะความดันในช่องโพรงกะโหลกศีรษะสูงได้ ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงจากการให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ในการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ต้องทราบถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นจะต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการแก้ไขทันที

อย่างไรก็ตามวิธีการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการที่ให้อาหารทางสายยาง อันดับแรกเลยความรู้ความชำนาญในการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้มากพอสมควร รู้วิธรรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ผู้ดูแลควรจะพิจารณาถึงการใส่สายยางให้อาหารแก่ผู้ป่วยว่า เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่ เช่นผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการสำลักอาหารสูงหรือไม่ กระเพาะอาหารทำงานอย่างไร เป็นต้น


ผู้ดูแลจะต้องบันทึกข้อมูลทางการพยาบาลในการลดความเสี่ยงและบอกเหตุผลในการปฏิบัติ ดูรายละเอียดของการประเมินก่อนทำการใส่สายยางให้อาหาร การใส่สายยางให้อาหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นคนใส่สายยางให้อาหาร เพราะถ้าใส่สายยางผิดตำแหน่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงมากในเรื่องของตำแหน่งของการใส่สายยาง ควรตรวจสอบตำแหน่งของสายให้ดีว่าอยู่กระเพาะอาหารหรือไม่ และต้องทำการปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย เพื่อยึดติดสายยางไม่ให้ขยับ ถ้าหากพาสเตอร์เกิดหลุดควรรีบทำการแก้ไขโดยด่วน ทั้งนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้ลมผ่านเข้าสู่ร่างกาย ทางสายยางให้อาหาร โดยถ้าผ่านเข้าไปได้ควรให้มีปริมาณน้อยที่สุด เพื่อป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อ และผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายยางให้อาหารอย่างน้อย

ทุก 1 เดือน หรือเมื่อพบการชำรุดหรือสายยางมีความสกปรก ควรเปลี่ยนทันที ในกรณีที่ให้ อาหารทางจมูกทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนสายยางใหม่ แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงพยาธิสภาพของโรคและอาการด้วย เพื่อสุขลักษณะที่ดี และป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยด้วย