head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)  (อ่าน 9 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 808
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบ่งออกได้หลายชนิด ซึ่งมีสาเหตุและความรุนแรงแตกต่างกันไป เช่น

1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลันชนิดมีหนอง (acute purulent meningitis) อาจเกิดจากเชื้อนิวโมค็อกคัส (pneumococcus) สเตรปโตค็อกคัส (streptococcus) อีโคไล (E. coli) เมนิงโกค็อกคัส (meningococcus) สแตฟีโลค็อกคัส (staphylococcus) เคล็บซิลลา (klebsiella) ฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซ (Hemophilus influenzae) เป็นต้น ซึ่งมักจะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันทันที และมีความรุนแรง อาจเป็นอันตรายในเวลาอันรวดเร็ว

เชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากแหล่งติดเชื้อที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (เช่น ปอดอักเสบ กระดูกอักเสบเป็นหนอง คออักเสบ ฝีที่ผิวหนัง โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ) ผ่านกระแสเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง

หรือไม่เชื้อก็อาจลุกลามโดยตรง เช่น ผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ อาจมีเชื้อโรคจากบริเวณดังกล่าวลุกลามไปถึงเยื่อหุ้มสมองโดยตรงหรือผู้ป่วยที่มีกะโหลกศีรษะแตก อาจมีเชื้อโรคลุกลามจากภายนอก เป็นต้น

2. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค (tuberculous meningitis) เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งมักจะแพร่กระจายจากปอดหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปที่เยื่อหุ้มสมองโดยผ่านทางกระแสเลือด โรคนี้มักจะมีอาการค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ อาจกินเวลาเป็นสัปดาห์ แต่ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรง จึงทำให้มีอัตราตายหรือพิการค่อนข้างสูง พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบมากในเด็กอายุ 1-5 ปี

3. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส (viral meningitis) อาจเกิดจากเชื้อคางทูม เชื้อไวรัสเอนเทอโร (enterovirus) เชื้อค็อกแซกกี (coxsackie virus) ไวรัสเฮอร์ปีส์ (herpesvirus) เชื้อเอชไอวี เป็นต้น เชื้อโรคมักแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือด ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และบางกรณีอาจมีการอักเสบของเนื้อสมองร่วมด้วย

4. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา ที่พบบ่อยในบ้านเรามีสาเหตุจากเชื้อคริปโตค็อกคัส (cryptococcus) ซึ่งพบในอุจจาระของนกพิราบ ไก่ และตามดิน เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าทางปอด ผ่านกระแสเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง อาการจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค มักพบในผู้สูงอายุและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเนื่องจากเป็นโรคเอดส์ มะเร็ง โรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน เอสแอลอี ไตวาย ตับแข็ง เป็นต้น) หรือมีประวัติกินยาสเตียรอยด์ หรือยากดภูมิคุ้มกันมานาน ส่วนในเด็กพบได้น้อยมาก เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงชนิดหนึ่ง เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตค็อกคัส (cryptococcal meningitis)

5. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (eosinophilic meningitis) ที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่ ตัวจี๊ด และพยาธิแองจิโอ (Angiostrongylus canthonensis) โรคนี้อาจมีความรุนแรงมากน้อยแล้วแต่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง ถ้ามีเลือดคั่งในสมองหรือสมองส่วนสำคัญถูกทำลายก็อาจทำให้ตายหรือพิการได้ ถ้าเป็นไม่รุนแรงจะหายได้เอง

พยาธิแองจิโอ พบมากทางภาคกลางและภาคอีสาน เป็นพยาธิที่มีอยู่ในหอยโข่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติกินหอยโข่งดิบก่อนมีอาการประมาณ 1-2 เดือน พยาธิเข้าไปในกระเพาะสำไส้และไชเข้าสู่กระแสเลือดแล้วขึ้นไปที่สมอง โรคนี้มักพบในตอนปลายฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่หอยโข่งตัวโตเต็มที่ ซึ่งชาวบ้านจะจับกิน

6. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบา (primary amebic meningoencephalitis) เกิดจากเชื้ออะมีบาที่มีชื่อว่า Naegleria fowleri ซึ่งอาศัยอยู่ในบ่อน้ำหรือที่มีน้ำไหลช้า ๆ หรือที่เป็นดินโคลน เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูกโดยการเล่นน้ำในบึง คู คลอง หรือสระน้ำที่มีเชื้ออยู่ หรือถูกน้ำสาดเข้าจมูก หรือสูดน้ำเข้าจมูก ตัวอะมีบาจะไชผ่านเยื่อบุของจมูก และเส้นประสาทการรู้กลิ่น (olfactory nerve) เข้าบริเวณฐานสมอง แล้วแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองและเยื่อหุ้มสมอง ระยะฟักตัว 3-7 วัน (อาจนานถึง 2 สัปดาห์) โรคนี้มีความร้ายแรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิต

7. เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไทฟอยด์ สครับไทฟัส เล็ปโตสไปโรซิส ซิฟิลิส เมลิออยโดซิส บรูเซลโลซิส เป็นต้น

8. อื่น ๆ เช่น เอสแอลอี มะเร็งบางชนิด ผลข้างเคียงจากยา (เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โคไตรม็อกซาโซล เพนิซิลลิน ไซโพรฟล็อกซาซิน อัลโลพูรินอล เมโทเทรกเซต เป็นต้น ซึ่งมักเกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง และหลังหยุดยาโรคก็จะทุเลาไปเอง)